วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ออฟติคอลไดรฟ์ (Optical Drive)

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์

ออฟติคอลไดรฟ์ (Optical Drive)
อุปกรณ์ประเภท I/O (Input/Output Device) ส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากระบบ ผ่านกระบวนการทำงานของแสงเลเซอร์ ปัจจุบันสื่อและอุปกรณ์ที่เป็น ออฟติคอลไดรฟ์ ทั้งหลายมีการแตกแขนงออกไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะดีวีดี จนอาจทำให้บางท่านสับสนต่อการใช้งานก็เป็นได้ โดยการแตกแขนงออกไปนั้นเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีของไดรฟ์แต่ละตัวรวมถึงกระบวนการทำงานของแสงเลเซอร์ที่กำลังจะพลัดใบไปสู่สำแสงสีฟ้า (Blu-Ray) เร็วนี้ หากถามว่าเพื่ออะไร คำตอบก็คือการใช้เทคโนโลยีสำแสงสีฟ้าจำทำให้สามารถขยายขนาดความจุบนแผ่นดิสก์ได้มากขึ้น จากเดินการจัดเก็บในรูปดีวีดีสูงสุด 4.7GB และ 8.5GB เท่านั้นแต่เมื่อปรับการใช้แสงเป็นสีฟ้า ด้วยขนาดการยิงที่สั้นลงทำให้ความละเอียดในการเขียนข้อมูลบนพิท (Pit) ทำได้มากขึ้น ซึ่งนั้นมันก็เป็นเรื่องของอนาคตที่น่าติดตามกันต่อไป ...

สำหรับเครือข่ายของ Optical Drive

ที่เห็นๆและมีขายกันในปัจจุบันอันประกอบด้วย Drive CD-ROM, DVD-ROM, COMBO, CD ReWriter และ DVD ReWriter ซึ่งทั้งหมดต่างก็มีหน้าที่การทำงานที่สัมพันธ์กัน และไต่เต้าความสามารถขึ้นไปเรื่อย รวมถึงปัจจุบันได้ก่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ๆมาอำนวยความสะดวกให้การใช้งานมากขึ้นด้วย ทำให้การเลือกซื้อต่อไปอาจจะดูเพียงสเป็กอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว เพราะประสิทธิภาพที่ได้เกิดจากการสั่งสมดั่งเดิมและเทคโนโลยีเสริมใหม่ๆ จนอาจกล่าวได้ว่าพัฒนาการของ ออฟติคอลไดรฟ์ ได้ถล่ำไปอีกขั้นแล้ว

CD-ROM

อุปกรณ์อ่านข้อมูลชนิดซีดี ที่ถูกบรรจุให้อยู่คู่คอมพิวเตอร์มาอย่างนมนาน จวบจนปัจจุบันพัฒนาการทางด้านความเร็วของอุปกรณ์ประเภทนี้ทะยานเข้าสู่เลขหลัก 60X แต่กลับกลายเป็นว่าปัจจุบันพิมพ์นิยมคือความเร็ว 52X ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหาซื้อได้ง่ายและรองรับต่อการอ่านแผ่นได้ดีด้วย สำหรับการใช้งาน CD-ROM จะเป็นมาตรฐานอยู่บนคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ามีการดัดแปลงเอาจุดเด่นของ Optical Drive ตัวนี้ไปใส่กับเครื่องเสียงบนรถยนต์หรือตามบ้าน นับเป็นแนวคิดที่ดี และประหยัดไปอีกทาง

ปัจจุบัน CD-ROM จะรองรับแผ่นขนาด 12 เซนติเมตร แล้วยังรองรับแผ่นที่มีขนาดมินิหรือปรับเป็นการ์ดคล้ายบัตรเติมเงินที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดิสก์ 8 เซนติเมตร ทำให้การพกพาสะดวกมากขึ้น แม้ปริมาณความจุจะให้ค่าตามขนาดรูปทรงดิสก์ก็ตาม

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์

Optical Drive : AOpen CD956E

CD ReWriter

อุปกรณ์เพื่อการอ่านและเขียนแผ่นประเภทซีดี ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไดรฟ์ประเภทซีดีสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้ ปัจจุบันความเร็ว 52X 32X 52X คือความเร็วสูงสุด และทำตลาดได้ดีที่สุดของ Optical Driveประเภทนี้ ซึ่งคงไม่มีการพัฒนาความเร็วไปมากกว่านี้ เพราะการพัฒนานั้นจะไปเน้นดีวีดีซะมากกว่า สำหรับตัวเลข 3 ตัวที่ได้เอ่ยไป มือใหม่หัดใช้อาจงง ดังนั้นเฉลยก็แล้วกัน ซึ่งตัวเลข 3 ตัวเป็นการบอกความเร็วในการทำงาน โดยที่ค่า X แทนหน่วยที่ใช้วัดเป็น 150 กิโลไบต์ต่อวินาที ฉะนั้นหากความเร็วของเราเป็น 52X หมายความว่าไดรฟ์ของเรามีความเร็วในการทำงาน 52 * 150 = 7800 กิโลไบต์ต่อวินาที ส่วนตัวเลขที่มีให้ถึง 3 ตัว (52X 32X 52X) บ่งบอกอะไรไว้บ้างนั้นเราก็มีเฉลยอีก โดย 52X (ความเร็วในการเขียน CD-R) 32X(ความเร็วในการเขียน CD-RW) 52X(ความเร็วในการอ่าน CD-ROM) โดยที่รองรับขนาดแผ่นดิสก์ที่ 8 และ 12 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน และสิ่งที่เข้ามาอีกอย่างหนึ่งของ Optical Drive ประเภทนี้ ที่นับว่าสำคัญต่อการบันทึกมากนั้นก็คือขนาดของบัฟเฟอร์สำหรับพักข้อมูลก่อนบันทึกลงแผ่น โดยปัจจุบันอยู่ที่ 2MB และ 8MB เจ้าสิ่งนี้ จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีบัฟเฟอร์ที่เรียกว่า Buffer Underrun เพื่อป้องกันการผิดพลาดขณะเขียนแผ่น ซึ่งแต่ละผู้ผลิตอาจเรียกจุดนี้ต่างกันไป แม้กระบวนการทำงานอาจต่างกัน ทว่าผลลัพธ์ที่ได้ก็เหมือนกัน

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์

Optical Drive : TDK AI-CDRW523252D

Combo Drive

อุปกรณ์ที่รวมการทำงานของ Optical Drive CD ReWriter (อ่าน/เขียน) และ DVD-ROM(อ่านอย่างเดียว) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจุดสังเกตความเป็น Combo Drive จะมีสัญลักษณ์ CD-RW และ DVD-ROM คู่กัน (แต่ถ้าเป็น OEM งานนี้ก็ดูหนักหน่อยนะครับ) ซึ่งการผสานสองอย่างไว้ใน Optical Drive เพียงตัวเดียว แน่นอนประหยัดงบประมาณลงไปได้มาก แต่ความสมบูรณ์ของ ออฟติคอลไดรฟ์ เฉกเช่นต้นขั้วของมันโดยแท้อาจไม่เต็มหน่วยมากนัก สำหรับ Combo Drive จะว่าไปแล้วนอกจากการรวม CD ReWriter และ DVD-ROM เข้าไว้ด้วยกันแล้วยังถือเป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์สำหรับอ่านการ์ดหน่วยความจำ (Card Reader) เพราะได้กำไรหลายต่อ กลับกลายป็นว่าสร้างจุดขายให้กับอุปกรณ์แนวนี้กันเป็นขบวน ฉะนั้นเราจึงได้ตัวเลขเพิ่มจาก CD ReWriter มาอีกหนึ่งตัวติดทางด้านท้าย เช่น 52X 32X 52X 16X ตัว 16X นี้และคือความเร็วการอ่านแผ่น DVD-ROM หากถามว่าค่า X ของดีวีดีต่างจากซีดีมากไหมตอบได้เลยว่าเกือบ 9 เท่าตัว (CD 1X = 150 กิโลไบต์ต่อนาที, DVD 1X = 1,350 กิโลไบต์ต่อนาที) ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วความถี่ในการอ่านดีวีดีเหนือกว่าเยอะครับ

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์ Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์

Optical Drive : Apacer DISC STENO CP200

DVD-ROM

อุปกรณ์อ่านข้อมูลที่รองรับการอ่านได้ทั้งแผ่นซีดีและดีวีดี ซึ่งมาตรฐานความเร็วมาหยุดอยู่ที่ 16X จนกระทั้งปัจจุบัน ซึ่งที่ขนาดความเร็วในระดับ 1X ของดีวีดีนั้นจะให้ความเร็วที่เหนือกว่า การทำงานของ Optical Drive CD-ROM ถึง 9 เท่า และด้วยราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง จวบจนทุกวันนี้เงินเพียงหนึ่งพันบาทกว่าๆ เท่านั้นก็มีสิทธิที่จะเลือกซื้อ Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์ ประเภทนี้ได้แล้ว ฉะนั้นการเลือกซื้อแนะนำให้เลือกที่ระดับ 16X สำหรับ Optical Drive ประเภทนี้มักรองรับการอ่านดิสก์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 และ 12 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับไดรฟ์ CD-ROM ส่วนเรื่องโซนที่ถูกจำกัด ก็ตัดปัญหาออกไปได้บ้างเมื่อมีโปรแกรมปลดล็อกโซนช่วยให้การจำกัดการใช้งานเหล่านั้นหมดไปได้บ้าง

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์
Optical Drive : Asus DVD-E616P2

DVD ReWriter

อุปกรณ์ที่เรียกได้ว่าคือสุดยอด Optical Drive เพื่อการอ่านและเขียนแผ่นในขณะนี้เพราะรองรับได้ทั้งซีดีและดีวีดี บนมาตรฐานการบันทึกความจุ 4.7GB (Single Layer) และ 8.5GB (Double Layer) แต่มาตรฐานความจุยังมีมากกว่านี้ ซึ่งก็ได้แก่ DVD 10, DVD 18 ทว่าการใช้งานกับไดรฟ์ประเภทนี้คงเป็นเพียงการอ่านเท่านั้น ซึ่งการบันทึกสื่อประเภทนี้ด้วย ออฟติคอลไดรฟ์ DVD ReWriter ยังไม่สามารถทำได้

นอกจากนี้คุณสมบัติในการใช้งานร่วมกับแผ่นดิสก์โดยเฉพาะดีวีดียังคล้ายกันไปซะหมด โดยไม่มีการแบ่งแยกแล้ว ระหว่างความเป็น ออฟติคอลไดรฟ์ ประเภทบวกหรือลบอย่างแต่ก่อน เพราะในไดรฟ์ 1 ตัว สามารถที่จะรองรับได้ทั้ง 2 รูปแบบ (Dual Format) ทว่าสิ่งที่จะเอามาแข่งขันน่าจะเป็นคุณสมบัติทางด้านความเร็วในการบันทึก รวมถึงการรองรับสื่อที่เป็น DVD Double Layer และ DVD - Ram ซะมากกว่า

รูปแบบของแผ่นดีวีดี


DVD-R
เป็นแผ่นที่สามารถทำการบันทึกได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถทำการบันทึกซ้ำได้อีก

DVD-RW
คล้ายกับแผ่น DVD-R ที่สามารถทำการบันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว แต่ต่างกันที่สามารถเขียนได้หลายครั้ง หรือลบแล้วเขียนใหม่ได้แต่ต้องทำกับข้อมูลทั้งแผ่น

DVD+R
เป็นแผ่นที่เมื่อเขียนแผ่นไปแล้วสามารถนำแผ่นกลับมาเขียนต่อได้อีก แต่ไม่สามารถลบได้

DVD+RW
คล้ายกับแผ่น DVD+R ต่างกันตรงที่สามารถเขียนและลบได้หลายครั้ง

DVD-RAM
สามารถเขียนและลบได้หลายครั้ง คล้ายกับแผ่น CD-RW และสามารถที่จะนำข้อมูลไปเขียนไว้ในส่วนใดก็ได้ของแผ่น คล้ายกับฮาร์ดดิสก์ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนหรือลบทั้งแผ่น

* หมายเหตุ : สำหรับขนาดความจุในส่วนของ 4.7GB (Single Layer) นั้นมีทุกรูปแบบ แต่ 8.5GB (Double Layer) นั้นยังมีให้เห็นเพียง DVD+R เท่านั้น ส่วน DVD-R และ DVD+RW นั้นกำลังจะตามมา

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์
Optical Drive : Pioneer DVR-A09Optical Drive : BenQ DW1625

เทคโนโลยีแนวใหม

สำหรับ ออฟติคอลไดรฟ์ ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการใช้งานให้มีความสะดวกขึ้น รวมถึงเทคนิคบางอย่างที่มีเฉพาะ Optical Drive บางยี่ห้อเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่ก็ไม่แน่ที่ผู้ผลิต Optical Drive ค่ายอื่นๆ จะลอดลายมังกรทำบ้าง ไม่ว่าจะเป็น

• เทคโนโลยี Giga Rec. จาก Plextor กับการเขียนแผ่นเกินขนาดความจุจากแผ่น 700MB ไปสู่ 1GB หน้าตาเฉย
• เทคโนโลยีการทำ Book Type จาก BenQ ที่ช่วยให้แผ่นดิสก์ที่เคยใช้งานไม่ได้กับเครื่องเล่นทั่วๆ ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
• และเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ กับเทคนิคการทำ LightScribe ที่ช่วยสร้างปกฝากฝังไว้บนแผ่นดิสก์โดยไม่ผ่านเครื่องพิมพ์ อาศัยก็เพียงแต่ ออฟติคอลไดรฟ์ + แผ่นดิสก์ + โปรแกรม ในการทำเท่านั้น

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์

LightScribe Technology

จากสิ่งที่กล่าวมาคือบางส่วนของเทคโนโลยี Optical Drive ที่ควรรู้ และน่าที่จะแยกประเภทให้ถูกว่าไดรฟ์แต่ละประเภทมีดีอย่างไร จำเป็นมากน้อยเพียงไรในการใช้งานไดรฟ์เหล่านั้น ทว่าหากมองย้อนเข้าไปในเรื่องของการเลือกซื้อ Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์ เพื่อมาใช้งานจริงๆ เราควรมองสิ่งอื่นประกอบด้วย อันได้แก่

อินเทอร์เฟซ

ในส่วนของอินเทอร์เฟซ สามารถแบ่งแยกรูปแบบการติดตั้งและดัชนีราคาได้เป็นอย่างดี ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหากเป็นอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานภายในเครื่องหรือ Internal นั้น มักมีอินเทอร์เฟซเป็นแบบ E-IDE รองรับการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน ATAPI โดยส่วนใหญ่มักมีการลำเลียงข้อมูลผ่านสายสัญญาณแบบ ATA 100 ที่แม้จะรองรับการเชื่อมต่อในแบบ ATA 100 แต่ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลก็ไม่เกิน DMA 2 หรือ 33 เมกะไบต์ต่อวินาที และหากเป็นอุปกรณ์แบบติดตั้งใช้งานภายนอกหรือ External มักจะมาในรูปแบบของ USB และ Firewire ที่สามารถใช้งานได้ทั้งเครื่องพีซีและแม็คอินทอช แต่ต้องขอบอกไว้ ณ ที่นี้ว่า หากเลือกที่จะใช้งานอุปกรณ์เขียนแผ่นแบบ External มักต้องเปลืองเงินขึ้นมาอีกเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับ Internal แต่ก็น่าคุ้มค่ากับประโยชน์ใช้สอยที่เอื้อต่อการใช้งานได้มากขึ้นตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเคลื่อนย้าย การติดตั้งรวมถึงฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นด้วย

Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์Optical Drive ออฟติคอลไดรฟ์
E-IDE InterfaceUSB Interface

หน่วยความจำบัฟเฟอร์

นับเป็นสิ่งสำคัญที่อุปกรณ์เพื่อการเขียนแผ่นโดยตรงขาดไม่ได้เลย นั้นก็คือหน่วยความจำบัฟเฟอร์หรือบริเวณอันเป็นที่พักข้อมูลที่ถูกฝากฝังไว้บนตัว Optical Drive ในปริมาณความจุที่ต่างกันออกไป ซึ่งปัจจุบันขนาดหน่วยความจำบัฟเฟอร์ของ ออฟติคอลไดรฟ์ เขียนที่ขึ้นด้วยเลข 8 นั้น มีเพียงผู้ผลิตไม่กี่รายให้ความสนใจกับขนาดบัฟเฟอร์ในระดับนี้ ทำให้มีพื้นที่สำหรับพักข้อมูลก่อนถูกลำเลียงตามสภาวะการใช้งานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งความได้เปรียบที่ได้จากบัฟเฟอร์นี้อาจมองไม่เห็นประสิทธิภาพต่อการใช้งานด้วยพื้นที่ที่มีเหนือขนาดบัฟเฟอร์ 2 เมกะไบต์ ถึง 6 เมกะไบต์ และโดยส่วนใหญ่เช่นกันที่ ออฟติคอลไดรฟ์ เพื่อการอ่านแผ่น เฉกเช่น Optical Drive CD-ROM และ DVD-ROM มักมีหน่วยความจำบัฟเฟอร์ในระดับที่ต่ำกว่าเนื่องจากอัตราการเรียกใช้หน่วยความจำบัฟเฟอรอันเกิดจากสภาวะการอ่านข้อมูลนั้นมีค่อนข้างน้อย จึงไม่ส่งผลมากน้องต่อการเรียกใช้งาน ส่งผลให้ Optical Drive ประเภทนี้จึงมีหน่วยความจำในปริมาณที่น้อยตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น