วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การ์ดจอ

การ์ดจอ ,vga card

ราคาการ์ดจอ รับประกัน โดย DCOM

รุ่น การ์ดจอ
รายละเอียดการ์ดจอ
ราคาการ์ดจอ
ประกัน
ASUSTEK
PCI - NVIDIA CHIPSET
ASUS VGA EN210/G/DI/512MD2(LP)
1,660 3 Years
ASUS VGA ENGT220/DI/1GD3 (LP)
3,000 3 Years
ASUS VGA ENGT220/G/DI/1GD3 (LP)
3,040 3 Years
ASUS VGA ENGT220/DI/512MD3 (BP)
2,725 3 Years
ASUS VGA ENGT220/DI/512MD3
2,725 3 Years
ASUS VGA ENGT240/DI/512MD5
3,660 3 Years

ASUS VGA ENGTS250

DK/DI/512MD3


4,745 3 Years

ASUS VGA ENGTS250

DK/DI/1GD3


5,410 3 Years
ASUS VGA Bravo 9500/DI/512MD2
2,450 3 Years
ASUS VGA EN9600GT/DI/512MD3
3,190 3 Years

ASUS VGA

EN9800GT/HTDP/512MD3


3,910 3 Years
ASUS VGA EN9800GT/DI/512MD3
3,735 3 Years
PCI - ATI CHIPSET

ASUS VGA EAH4350

Silent/DI/1GD2


1,580 3 Years
ASUS VGA EAH4550/DI/512MD3 (LP)
1,740 3 Years

ASUS VGA

EAH4770/HTDI/512MD5


4,020 3 Years

ASUS VGA

EAH5970/G/2DIS/2GD5


23,780 3 Years

ที่มา http://www.google.com/

การเลือกซื้อจอเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเราจำเป็นต้องรู้จักพื้นฐานการทำงานของจอแต่ละแบบกันก่อน ซึ่งการทำงานจะแบบเป็น 2 ประเภท คือ แบบที่ใช้หลอดภาพ (CRT) ก

จอแบบ CRT


จอแบบ CRT นั้นย่อมาจาก Cathode Ray Tube การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงาน อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วนของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น

จอแบบ LCD
จอแบบ LCD หรือ Liquid Crystal Display การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า เทคโนโลยีของจอนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีการนำเอาเทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้งานในโปรโมตสินค้าของตนเอง ซึ่งแต่ผู้ผลิตจะมีเทคโนโลยีที่ เรียกแตกต่างกันออกไปโดยอาศัยหลักในการประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ ไว้ด้วยกัน เช่น

เทคโนโลยี LightFrame 2 ของ Philips เป็นเทคโนโลยีที่ผสานประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ไว้ด้วยกัน โดยการทำงานในรูปแบบ Automatic Object Detection For Internet Browsing ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตว่ามีไฟล์รูปภาพหรือวิดีโอหรือไม่ ซึ่งถ้ามีก็จะทำการปรับความคมชัดในส่วนเฉพาะรูปหรือภาพวิดีโอให้มีความสว่างคมชัดขึ้น และยังสนับสนุนการทำงานเกี่ยวกับการชมภาพยนตร์ และเล่นเกมส์ อีกด้วย
เทคโนโลยี ICE ของ Philips เป็นเทคโนโลยีในการกำจัดเคลื่อนรบกวนทางแม่เหล็กเพื่อให้ยังคงรักษาระดับแสงของเฉดสีไว้ได้ดังเดิม ซึ่งเป็น เทคโนโลยี เฉพาะของ Philips เท่านั้น

เทคโนโลยี MagicBright ของ Samsung เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้จอภาพสามารถให้แสงสว่างสูง ถึงขีดระดับ 330cd/m2 พร้อมทั้งยัง สามารถใช้งานโหมดต่างๆ ในการปรับระดับของแสงให้สามารถใช้งานได้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการรักษาสายตา

เทคโนโลยี Digital Dynamic Convergence ของ Sony จะช่วยให้ได้จอภาพที่มีลักษณะการรวมกันของอิเล็dตรอน 3 ลำพอดีทุกจุดไม่ว่าจะ เป็นกลางจอหรือว่าริมของจอภาพก็ตามซึ่งการปรับคอนเวอร์เจ็นต์แบบไดนามิกนั้นทำให้ได้ภาพที่สีอิ่มตัวตลอดทั้งจอภาพ เพราะ Digital Convergence นั้นช่วยลดการเหลื่อมของลำอิเล็กตรอนจากเดิมที่ยอมให้ลำอิเล็คตรอนที่มุมผิดได้ 4 มม.ก็ลดลงมาเหลือ 3.5 มม. ทำให้การเกิดสีเหลื่อม (Misconvergence) ที่บริเวณมุมและขอบจอลดลงไป

เทคโนโลยี Flatron ของ LG ซึ่งจริงๆ เทคโนโลยี Flatron คือ การใช้หลอดภาพดำที่เรียกว่าแบบ Black Trinitron แต่ชื่อ ไตรนิตรอน (Trinitron) ถูกจดลิขสิทธิ์โดยบริษัท SONY ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยี Flatron นั้นจะดีลักษณะที่ดีกว่า Trinitron ของ Sony คือมีลักษณที่เรียกว่าแบน "อย่างธรรมชาติ" หรือ "Natural Flat" ซึ่งทำให้การมอง และใช้งานนั้นดูสบายตามีสีที่สดใส อีกทั้งจอที่ดำสนิททำให้การให้แสงนั้นมีคุณภาพคมชัด อีก ทั้งจอยังเคลือบด้วย W-ARAS ที่ป้องกันการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นอันตรายและจอภาพที่ปราศจากความโค้งใดๆ นอกจากนี้ FLATON ยังมี Flat Tension Mask ซึ่งแอลจี อีเลคทรอนิคส์ ได้พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ ดังนั้น FLATRON จึงให้ภาพที่สมจริงมาก

การเลือกใช้จอ LCD

สำหรับจอแบบ LCD นั้น จากการทำงานของมันแล้วจะรู้ได้ว่าจอแบบ LCD นั้น สามารถที่จะช่วยในการลดอัตราเสี่ยงที่สายตาเราจะรับรังสีที่แผ่ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะจอแบบ LCD นั้นในหลักการในการใช้ความร้อนของขดลวดในการทำให้ผลึกเหลวแสดงภาพออกมา จึงทำให้จอ LCD นี้สามารถที่จะถนอมสายตาได้ อีกทั้งแสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอแบบที่ใช้หลอดภาพ เพราะจอแบบ LCD นั้นไม่จำเป็นต้องทำการยิงแสง อิเล็กตรอน เหมือนจอแบบหลอดภาพ นั้นก็เป็นข้อดีของจอแบบ LCD และข้อดีอีกอย่าง คือขนาดที่เบาและบางทำให้มีเนื้อที่บนโต๊ะทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า น้อยกว่าทำให้สามารถประหยัดไฟฟ้าไปได้มาก ส่วนของข้อเสียนั้นก็คือ ราคาเพราะราคานั้นจะสูงกว่าจอแบบอื่นๆ แต่ในตอนนี้นั้นราคาได้ลดลงมามาก


เลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน

เพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น อย่างเช่นการทำงานที่เกี่ยวกับงานเอกสารนั้น ควรซื้อจอที่มีขนาดตั้งแต่ 15"-17" แต่ถ้าจะใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ไปกว่านี้ จำเป็นต้องปรับขนาดของตัวหนังสือให้เล็กลงเพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดตาขึ้นมากได้เพราะตัวหนังสือที่แสดงมีขนาดใหญ่จนเกินไป

สำหรับการทำงานทางด้านการออกแบบกราฟิก ตกแต่งรูปภาพ การใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่อย่าง 17", 19" และ 21" นั้นก็จะช่วยให้การทำงาน นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้จะเป็นต้องใช้ความละเอียด และการมองภาพ และวัตถุบนจอภาพที่มากกว่าการทำงานปกติเป็นอย่างมาก และสำหรับผู้ที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงนั้น สามารถที่จะเลือกใช้งานจอภาพได้ตามความเหมาะสมกับงบที่มีอยู่ โดยน่าจะเริ่มใช้งานที่ 17" ขึ้นไป เนื่องจากว่าการใช้งานจอภาพขนาด 15" นั้นดูเหมือนจะไม่เพียงพอกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม และชมภาพยนตร์ แต่สิ่งที่สำคัญนั้นคือจอภาพ แบบ LCD นั้นที่มีขนาดใหญ่นั้นราคายังคงแพงอยู่เป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อคิดจะเลือกซื้อนั้นให้คำนึงถึงความเหมาะสม และงบด้วย

VICTOR COMPUTER SYSTEM CO.,LTD.
รายละเอียด


** ศูนย์บริการมาตรฐานพร้อมทีมช่างที่ชำนาญงาน ** บริการซ่อม Laser Printer , DeskJet Printer , Office Jet , Plotter , Computer , Monitor ทุกรุ่น
ทุกยี่ห้อ , ทั้งที่อยู่ในระยะประกัน และหมดประกันแล้ว
- บริการซ่อม เครื่องปริ้นเตอร์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ
- บริการรับ - ส่ง ฟรี ( กรณีไม่ตกลซ่อม)
- ค่าบริการ 200.- บาท ( กรณีเมื่อตกลซ่อม )ฃ
- เครื่องปริ้นเตอร์ HP ทุกรุ่นมีส่วนลดค่าอะไหล่ 10-30 %
- สามารถซ่อม ณ. ที่ Site งานลูกค้าได้ในกรณีเร่งด่วน หรือไม่ต้องการให้ยกกลับ และทราบรายการอะไหล่และราคาทันที
- มีราคาอะไหล่ทุกตัวเป็นมาตรฐาน ตรวจสอบราคาได้
- ไม่มีค่าเปิดเครื่อง ซ่อมไม่ได้ หรือไม่ซ่อม ไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ( ส่งพร้อมกัน 3 เครื่อง ประเภทเดียวกัน คิดค่าบริการเพียงเครื่องเดียว )
- ซ่อม Monitor CRT-LCD รวมค่าบริการแล้วในราคา 700.- / เครื่อง ( ยกเว้น Fly Back และ หลอดภาพ )
- เครื่องพิมพ์เลเซอร์ HP ทุกรุ่น รับประกัน 6 เดือน
- เครื่องพิมพ์ DOT Matrix ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ รับประกัน 6 เดือน
- เครื่องพิมพ์ Ink Jet ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ และเครื่อง Fax รับประกัน 4 เดือน
- หัวพิมพ์ ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ( แบบ Exchange ) รับประกัน 6 เดือน
- จอคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ รับประกัน 4 เดือน
- เครื่องสำรองไฟ ( UPS ) รับประกัน 4 เดือน
- เครื่องโทรสาร เครื่องคำนวณ และเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ รับประกัน 4 เดือน
........สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่........
บริษัท วิคเตอร์ คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด
25 ซอยรามคำแหง136 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
** เพียงแค่ความไว้วางใจของท่าน ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคสำหรับเรา **


ที่อยู่ :
25 ซอยรามคำแหง136 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10240
เบอร์โทรศัพท์ :
0-2728-0856-7,0-2728-2569,MB. 0-8135-27875
เบอร์ Fax :
0-2728-0858
เว็บไซค์ :

Email :

การเลือกซื้อคีย์บอร์ด


คีย์บอร์ดไร้สายไม่ธรรมดาซึ่งทำงานผ่านบูลทูธอันนี้จะทำให้ประสบการณ์ในการพิมพ์งานเปลี่ยนไป ซึ่งจริง ๆ แล้วนั้นมันก็คือเลเชอร์โปรเจคเตอร์ที่จะฉายรูปคีย์บอร์ดลงบนพื้นผิวที่เรียบทุกชนิดนั่นเอง ที่สำคัญมันยังสามารถสร้างเสียงให้เหมือนกับคียบอร์ดจริง ๆ ได้อีก (น่าสนใจมั๊ยล่ะ คิดดูสิพิมพ์งานได้ทุกที่ขอให้มีที่เรียบ ๆ ก็ใช้ได้แล้ว) ส่วนราคาก็.... 150 ดอลล่าร์ ที่ thinkgeek.com สามารถใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ที่มีบูลทูธ

"อ้างอิง www.google.com."
TPU Silicone Keyboard By CooSKin เข้ารูป ใส บาง สัมผัสเยี่ยมTPU Silicone Keyboard By CooSKin เข้ารูป ใส บาง สัมผัสเยี่ยมPre-OrderCooSkin TPU Keyboard Coverคือ แผ่นยางเข้ารูปสำหรับคีย์บอร์ดโน็ตบุ๊ค เพื่อปกป้องฝุ่นละออง,น้ำ โดยแผ่นยางนี้ผลิตขึ้นจากเทคโนโลยี High Quality Thermoplastic Urthanes (TPU) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตขั้นสูง ทำให้แผ่นยางมีความใสและบางที่สุด(0.2มิล)สินค้าเข้ารูปสวยงาม บาง ใส ให้สัมผัสที่เยี่ยม ปกป้องไม่ให้ฝุ่นผงสิ่งสกปรกต่างๆ หรือ น้ำ เข้าไปในแผงคีย์บอร์ด ลดการสึกหรอตัวหนังสือที่อยู่บนแป้นพิมพ์ ทำให้ดูใหม่อยู่เสมอ ถอดทำความสะอาดซักล้างได้ ขยำได้ไม่เสียรูปทรง คืนตัวไร้รอยยับสำหรับ NETBOOK 7"- 10" ราคา 520.-บาท/ชิ้น (ไม่รวมค่าจัดส่ง)สำหรับ NOTEBOOK 11" UP ราคา 580.-บาท/ชิ้น (ไม่รวมค่าจัดส่ง)ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน เพิ่ม 20.-บาทค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ EMS เพิ่ม 40.-บาท

"อ้างอิง www.google.com."

ราคาซีพียู

ราคา cpu AMD

รุ่น/model cpu
รายละเอียด cpu
ราคา ซีพียู
Warranty
AMD
AMD SEMPRON
AMD Sempron LE-140 (2700MHz)
1,114 3 Years
AMD ATHLON
AMD CPU Phenom II X2 550 3.1 GHz.
3,099 3 Years
AMD CPU Athlon X2 250 3 GHz.
2,367 3 Years
AMD Athlon II X4 620
3,341 3 Years
AMD Athlon II X4 630
4,236 3 Years
AMD ATHLON X2
AMD Athloh X2-245 2.9 GHz.
2,123 3 Years
AMD QUAD CORE
AMD CPU X2-7750+ 2.7 GHz
1,965 3 Years
AMD CPU Phenom II X4 810 2.6 Ghz
4,995 3 Years
AMD CPU Phenom II X4 965 3.4 GHz.(
6,539 3 Years
AMD Phenom 9650 2.3GHz
3,920 3 Years
AMD CPU Athlon II X III 425 2.7 GH
2,506 3 Years
AMD CPU Athlon II X III 435 2.9 GH
2,650 3 Years
AMD PHENOM II
AMD Phenom II X4 955(Black Edition)
5,792 3 Years
AMD Phenom II x2 545 3 GHz.
2,924 3 Years

updated 17/11/52

รุ่น/model cpu
รายละเอียด cpu
ราคา ซีพียู
Warranty
AMD
AMD SEMPRON
AMD Sempron LE-140 (2700MHz)
1,360 3 Years
AMD ATHLON
AMD CPU Phenom II X2 550 3.1 GHz.
3,960 3 Years
AMD CPU Athlon X2 250 3 GHz.
2,830 3 Years
AMD Athlon II X4 620
3,960 3 Years
AMD Athlon II X4 630
4,960 3 Years
AMD ATHLON X2
AMD Athloh X2-245 2.9 GHz.
2,490 3 Years
AMD QUAD CORE
AMD CPU Phenom II X3 710 2.6 Ghz
3,900 3 Years
AMD CPU P II X3 720 2.8 Ghz(Black
4,880 3 Years
AMD CPU Phenom II X4 810 2.6 Ghz
5,860 3 Years
AMD CPU Phenom II X4 920 2.8 GHz.
7,230 3 Years
AMD CPU Phenom II X4 965 3.4 GHz.
7,980 3 Years
AMD Phenom 9650 2.3GHz
4,380 3 Years
AMDPhenom9950 2.6GHz
5,480 3 Years
AMD CPU Athlon II X III 425 2.7 GH
2,970 3 Years
AMD PHENOM II
AMD Phenom II X4 945 Black Edition
6,840 3 Years
AMD Phenom II X4 955(Black Edition)
7,590 3 Years
AMD Phenom II x2 545 3 GHz.
3,420 3 Years

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์

ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันบนพีซีทั่วไปนั้น แบ่งเป็น 2 แบบคือ IDE หรือ (E-IDE) และ SATA ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรูปแบบและอินเทอร์เฟชในการติดต่อข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ในตลาด ณ เวลานี้ ส่วนใหญ่เราจะเห็นในแบบ SATA และ SATA2 กันมากกว่า โดยที่ฮาร์ดดิสก์ในแบบ IDE ดูจะถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เหตุผลมาจากที่แมนบอร์ดในปัจจุบันมีพอร์ตสำหรับ IDE เพียงช่องเดียว ซึ่งต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว แต่ตัวหนึ่งก็ถูกใช้กับออฟติคอลไดรฟ์ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องยากในการอัพเกรด ดังนั้นแล้วการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จึงเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่าที่สุด ด้วยความเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนโรงงานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การเลือกซื้อจึงควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ

ความจุของฮาร์ดดิสก์


แม้ว่าความจุที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีมากถึง 1000GB หรือ 1Terabyte การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานและค่าใช้จ่ายเป็นหลัก เพราะถึงแม้บางครั้ง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงดูจะคุ้มค่ากว่าความจุที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของคุณก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าอยู่ดีโดยความจุก็มีให้เลือกตั้งแต่ 80/120/160/200/250/320/500/750 และ 1000GB ซึ่งเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม

Harddisk

ความเร็วรอบสำคัญไฉน
สำหรับฮาร์ดดิสก์เดสก์ทอปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 5400rpm/7200rpm และ 10,000rpm ซึ่งที่พบกันมากที่สุดจะเป็นแบบ 7200rpm ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงบและราคาไม่แพง แต่สำหรับ 10,000rpm นั้น ส่วนใหญ่จะพบบนฮาร์ดดิสก์รุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่องานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น การเล่นเกม ทำกราฟิกหรืองานตัดต่อ ที่ต้องการความเร็วสูงในการเปิดไฟล์หรือการดึงไฟล์ข้อมูลเพื่อเรนเดอร์ดังเช่นฮาร์ดดิสก์ Raptor จากค่าย WD หรือ Cheetah จากค่าย Saegate ด้วยความเร็วในการทำงานที่สูง จึงต้องใช้กระบวนการผลิตและวัสดุที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้มีราคาที่แพงพอสมควร

บัฟเฟอร์สำคัญมากเพียงใด


คำตอบคือ สำคัญมากทีเดียว ไม่ใช่เพียงกับการทำงานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเล่นเกม มัลติมีเดียและซอฟแวร์พื้นฐานทั่วไปอีกด้วย ด้วยการสำรองข้อมูลบางส่วนในการใช้งานเอาไว้ เพื่อที่จะเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น และแน่นอนว่ายิ่งบัฟเฟอร์สูงกว่าราคาก็จะกระโดดไปกว่า 20% เลยทีเดียวโดยผู้ใช้ทั่วไปอาจเลือกที่ระดับมาตรฐาน 8MB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สำหรับเกมเมอร์หรือการตัดต่อ อาจเลือกเป็นรุ่น 16MB หรือ 32MB ก็ตอบสนองกับงานในหลายส่วนได้ดีทีเดียว

Average Seek Time
เป็นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ระบุมากับฮาร์ดดิสก์ทุกรุ่น โดยส่วนใหญ่สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 12-14ms แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงก็จะอยู่ที่ 8ms ตัวเลขดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งหมายถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น

อินเทอร์เฟชบนฮาร์ดดิสก์


ในตลาดเวลานี้มีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ IDE และ SATA (SATA150 และ SATA300) ส่วนนี้ก็คงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แม้ว่าในหลายการทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความเร็วกว่า IDE เพียงไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าเมนบอร์ดในปัจจุบัน มีพอร์ตสำหรับ IDE น้อยลง ทางเลือกที่เป็น SATA ก็ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้การสายสัญญาณยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้อากาศไหลเวียนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น

SATA

ฮาร์ดดิสก์แบบพิเศษ


นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพื้นฐานที่มีจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ผลิตจัดทำออกมาเป็นพิเศษ เพื่องานหรือความต้องการที่แตกต่างออกไป โดยมีตั้งแต่
ฮาร์ดดิสก์ที่มี NCQ หรือที่เรียกว่า Native Command Queuing ซึ่งข้อดีของฮาร์ดดิสก์ที่มีเทคโนโลยีนี้คือ การปรับปรุงการจัดเรียงข้อมูลและการอ่านข้อมูลแบบใหม่ โดยมองชุดข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน รวมไว้ในจุดเดียวกัน จึงทำให้การอ่านข้อมูลมีความเร็ว ด้วยการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ประเภทสวยงาม ในแบบดังกล่าวนี้ Raptor X จากค่าย WD เป็นต้นแบบ ด้วยการผลิตให้ฝาด้านบนนี้ความใส จนมองเห็น Platter และ Spindle หมุนทำงานอยู่ เหมาะสำหรับเกมเมอร์หรือนักแต่งเคสที่ชอบความสวยงามแปลกใหม่แต่ราคาก็มหาโหดเช่นกัน
ฮาร์ดดิสก์สุดอึด ปัจจุบันมีงานหลายส่วนที่มักใช้คอมพ์ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องนี้เอง มีส่วนทำให้อายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์สั้นลง ดังนั้นแล้วจึงมีการออกแบบฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่า Enterprise หรือที่เรียกว่า 24/7 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความทนทานสูง ใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยมีฮาร์ดดิสก์จาก WD ในรหัส RE และ Seagate Barracuda ES ทำตลาดอยู่
สุดท้ายจะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่มากถึง 32MB ซึ่งปกติจะมีเพียง 8MB หรือ 16MB เท่านั้น โดยมีในฮาร์ดดิสก์จากค่าย Seagate Barracuda 7200.11 ส่วนเรื่องราคาก็ไม่ถือว่าสูงมากนัก

วิธีตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ


สามารถใช้โปรแกรม HD Tune ทดสอบประสิทธิภาพและความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ ด้วยการมอนิเตอร์ให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ www.hdtune.xom หรือจะบริหารข้อมูลและไดรฟ์ได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ Manage ของระบบวินโดวส์ ด้วยการเมาส์ขวาที่ My Computer จากนั้นเลือกหัวข้อ Manage

ข้อมูลจาก : หนังสือช่างคอมพ์เลือกซื้ออุปกรณ์ COMPUTER.TODAY

การเลือกซื้อออปติคอลไดรฟ์

การเลือกออปติคอลไดรฟ์

ในปัจจุบันตัดสินใจค่อนข้างง่ายทีเดียว เนื่องจากไดรฟ์แบบ DVD?RW นั้นราคาถูกมาก เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท เท่านั้นสำหรับ Intemal ซึ่งราคาจะแพงกว่า DVD และ CD-RW อยู่เพียง 200-300 บาทเท่านั้น แต่สามารถเขียนและอ่านแผ่นได้ทั้ง DVD และCD ดังนั้นการลงทุนกับ DVD?RW จึงดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า แต่จะเลือกอย่างไรดีในเมื่อมีหลายรุ่นหลากยี่ห้อให้เลือกใช้

DVD+R/ DVD-R/ DVD-RAM แตกต่างกันอย่างไร

แน่นอนว่า DVD Writer เครื่องหนึ่ง ไม่ได้มีฟังก์ชันเพียง DVD-R หรือ RW เท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ มากมายมาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น DVD-R/+R, DVD?RW, Dual Layer หรือ Double side แล้วสิ่งเหล่านี้คืออะไร ใช้งานแบบไหน ลองมาดูกัน
DVD-R : เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป การทำงานง่ายๆคือ การเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเขียนซ้ำได้
DVD+R : มีความสามารถเหมือนกับ-R แต่มีความพิเศษที่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้ แต่เขียนซ้ำและลบข้อมูลไม่ได้
DVD RW : เป็นแบบที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นที่ รองรับการเขียนและข้อมูลใหม่ได้หลายครั้ง แต่เปลี่ยนข้อมูลทั้งแผ่น
DVD-RAM : เป็นรูปแบบการเขียนข้อมูลแบบพิเศษ ด้วยการเขียนข้อมูลลงแผ่นได้เฉพาะส่วนและเลือกลบข้อมูลจากส่วนใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งแผ่นแบบ DVD-RW แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากแผ่นมีราคาสูงและหายาก
DVD Dual Layer : เดิมรูปแบบของแผ่นที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบ Single Layer คือ การเขียนข้อมูลแบบชั้นเดียว แต่สำหรับแผ่น Dual Layer จะมีการเคลือบสารเคมีสองชั้นจึงทำให้เขียนข้อมูลได้ 2 ระดับ เก็บข้อมูลได้มากกว่าปกติเท่าตัวหรือประมาณ 9GB นั้นเอง
DVD Double side : การเก็บข้อมูลจะคล้ายกับ Dual Layer ซึ่งได้ความจุที่ 9GB เช่นเดียวกัน เพียงแต่การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบหน้าและหลัง ต้องมีการกลับแผ่นในการใช้งาน

เลือกซื้อ External หรือ lnternal ดีกว่า


การติดตั้งไดรฟ์อยู่ภายใน ย่อมให้ความมั่นใจในการใช้ได้มากกว่า เนื่องจากไม่มีการโยกย้ายบ่อย ไม่ต้องกลัวหาย อีกทั้งการเชื่อมต่อกับพอร์ตบนแมนบอร์ดโดยตรงผ่านทาง IDE หรือ SATA ที่ให้การถ่ายโอนข้อมูล 100MB/s และ 150MB/sทำได้เร็วกว่า USB2.0ที่ทำได้เพียง480Mb/s เท่านั้นแม้จะเป็นในทางทฤษฎีก็ตาม แต่จากการใช้งานจริงผู้ใช้จะสามารถรู้สึกได้ทีเดียว ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ใช้ที่มีเครื่องเฉพาะบุคคล ไม่ต้องแบ่งปันหรือเคลื่อนย้ายไปใช้ที่อื่น ส่วน External drive เคลื่อนย้ายได้ง่ายสะดวกในการติดตั้งเหมาะสมสำหรับ ผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางหรือเปลี่ยนเครื่องใช้บ่อยๆแม้ว่าจะไม่ได้รวดเร็วเท่ากับการใช้แบบ Internal drive แต่ก็ให้ความคล่องตัวได้เป็นอย่างดีโดยความเร็วของ DVD Writer มีตั้งแต่ 16X ไม่จนถึง 20Xซึ่งมีให้เลือกเกือบทุกค่าย

ใช้อินเทอร์เฟซอะไรดี


การเลือกอินเทอร์เฟซแบบใดดี ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงรูปลักษณ์ของอุปกรณ์ แต่หมายถึงการเชื่อมต่อกับพอร์ตแบบใดบนบอร์ด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบ SATA และ IDE ให้เลือกการเลือกใช้ความเร็วทั้ง 2แบบแทบจะไม่ต่างกัน แต่ถ้าสังเกตให้ดี เมนบอร์ดเวลานี้ส่วนใหญ่จะมีพอร์ตIDE ให้เพียงพอร์ตเดียวเท่านั้นหมายถึงการติดตั้งIDEได้ 2 ลูก ดังนั้นแล้วหากคุณมีฮาร์ดดิสก์แบบ IDE อยู่ถึง 2 ลูกแล้ว ไดรฟ์แบบ SATA ก็จะช่วยคุณได้มากทีเดียว

ความเร็วในการทำงานของไดรฟ์


หลายคนอาจจะสับสนกับตัวเลขความเร็วที่แจ้งไว้ที่ตัวไดรฟ์ ซึ่งในปัจจุบันหลังจาก CD-RWแล้วจะไม่ค่อยนิยมสกรีนไว้ด้านหน้า เนื่องจากจะเป็นตัวเลขที่ยาว แต่สามารถดูได้จากข้างกล่องหรือตัวไดรฟ์ เช่น DVD?RWและ Combo Drive
DVD RW ส่วนใหญ่ไดรฟ์ประเภทนี้จะแจ้งความเร็วเดียวคือ DVD R speed แต่ส่วนที่เหลือจะแจ้งไว้ที่ข้างกล่องโดยจะแจ้วความเร็วในโหมดต่างๆไว้อย่างครบถ้วน ส่วนCombo Drive 52x32x52/16x จะบอกถึงความเร็วในการอ่านCD 52X เขียน CD –RW 32Xและเขียน CD-R 52X รวมถึงอ่านแผ่น DVD X

บิฟเฟอร์ ( Buffer ) สำคัญอย่างไร

ถ้าว่ากันเรื่องบัฟเฟอร์ อุปกรณ์ไอทีหลายชนิด ล้วนแต่ต้องการบัฟเฟอร์ที่ช่วยให้การทำงานของระบบมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยคุณสมบัติในการสำรองข้อมูล เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการรับ –ส่งข้อมูล เช่นเดียวกับ ออปติคอลไดรฟ์ ที่จะช่วยให้ไม่เกิดโอกาสที่เรียกว่า Buffer under run หรือการขาดช่วงในระหว่างการเขียน ซึ่งหมายถึงเกิดความผิดพลาดหรือแผ่นเสียนั่นเองแต่การทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงบัฟเฟอร์เท่านั้น หากยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการอีกชั้นหนึ่งด้วย โดยโดรฟ์ที่มีจำหน่ายในตลาดตอนนี้ มีตั้งแต่ 2MB-8MB
เกร็ดความรู้ ---เทคโนโลยี Light Scribe เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำลวดลายบนแผ่น CD/DVD ได้บนตัวไดรฟ์เองสำหรับผู้ที่ชอบความสวยงามและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตามแผ่นสำหรับการทำจะทีราคาค่อนข้างแพง อีกทั้งใช้เวลาในการทำนานพอสมควร โดยเทคโนโลยีดังกล่าวปัจจุบันก็มีอยู่ใน DVD Writer หลายรุ่นในท้องตลาด


ข้อมูลจาก : หนังสือช่างคอมพ์เลือกซื้ออุปกรณ์ COMPUTER.TODAY
การเลือกซื้อแรม (RAM) หรือหน่วยความจำหลัก

การเลือกซื้อแรมปัจจุบัน นอกจากจะต้องดูกันที่ความจุความเร็วแล้ว

หลายคนยังมองไปที่สัปดาห์ที่ผลิต รวมถึงเม็ดแรมที่นำมาใช้อีกด้วย

โดยเฉพาะกับบรรดาเซียนคอมพ์ทั้งหลาย ที่แทบจะเอากล้องส่งอพระมาส่องกันเลยทีเดียว

แต่สิ่งเหล่านี้ คงต้องยกให้กับเหล่ามืออาชีพกันไป ส่วนผู้ที่กำลังมองหาไว้ใช้งานโดยทั่วไปแล้ว

สำหรับการเลือกแรมมีหลักง่ายๆ เพียงไม่กี่ข้อ ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่อาจใส่ใจอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่

ดูจากเมนบอร์ดที่ใช้อยู่


ปัจจุบันชัดเจนว่าแรมที่มีอยู่ในตลาดและใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีอยู่ 3 รูปแบบคือ DDR, DDR2 และ

DDR3 โดยที่แต่ละแบบก็ใช้งานกับแพลตฟอร์มต่างกันออกไป กล่าวคือ DDR (184-pins)

จะทำงานร่วมกับชิปเซตรุ่นเก่าของทั้ง Intel ตระกูล 845, 865 และใน VIA P4M บางรุ่น สำหรับ

AMD ก็มีตั้งแต่ nForce2, nForce3, GeForce 6100/6150

แต่เวลานี้ก็แทบจะลาจากตลาดไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสำหรับการอัพเกรด

ประกอบด้วย DDR400/333/266 (PC3200/2700/2100)

ส่วน DDR2 (240-pins) นับว่ายังคงเป็นแรมยอดนิยม ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดได้อีกนานพอสมควร

ใช้กับชิปเซตทั้งหลายที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอินเทล 915, 925, 945, 955, 965, 975,

G31, G33, P35, X38 และ X48 รวมไปถึง 680i/ 780i ส่วนทาง AMD ก็ใช้ได้กับ nForce4,

nForce 5xx Series, 690G, nForce 750/770/790FX Series ซึ่งก็มีให้เลือกตั้งแต่ DDR2

800/667/533 (PC6400/5300/4200) นับเป็นแรมที่มีราคาค่อนข้างถูก มีให้เลือกตั้งแต่แถวละ

512MB, 1GB และ 2GB

ล่าสุดกับ DDR3 (240-pins) ที่ยังถือว่าเป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร

รวมถึงราคาจำหน่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เท่าใดนัก

ส่วนชิปเซตจากอินเทลจะมีเพียง X48 ที่รองรับการทำงานอย่างเต็มตัว แต่ผู้ผลิตก็ยังมีในแบบ

DDR2 มาให้ใช้ด้วย ส่วนทาง AMDจะมีในรุ่น AMD 790i ที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น

ที่ออกมารองรับการทำงานกับ DDR3 โดยจะมีความเร็วที่ DDR3 1333 และ DDR3 1066 (PC10600/8500)

เลือกที่ความจุและขนาดที่ต้องการ


ให้ดูจากปริมาณการทำงานและแอพพลิเคชันที่ใช้เป็นหลัก

หากการใช้งานทั่วไปร่วมกับวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้ว ความจุที่512MB ก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน

แต่ถ้ามีความต้องการในเรื่องของเกมสามมิติและโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว ความจุที่มากกว่า 1GB

จะช่วยให้มีความลื่นไหลมากขึ้น ส่วนถ้าหากจำนำไปใช้กับงานระดับ Workstation ความจุที่

2-4GB ก็ดูจะเป็นขนาดที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่แรม DDR2 ราคาถูกเช่นนี้

การอัพเกรดความจุให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีไม่น้

ram

เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual

ความจุเท่ากัน 2 แถวดี

ในความเป็นจริงทั้ง 2 แบบก็ถือว่าถูกเหมือนกัน แต่อาจต้องมาคิดคำนวณ

ระหว่างราคากับประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้ ต้องไม่ลืมว่าการทำงานในโหมด Dual Channel

ที่เป็นแบบแรมสองแถวคู่ มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมไม่น้อยกว่า 20%

แต่นั่นหมายถึงมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงกว่าการซื้อแรมแบบแถวเดียว ในความจุเท่ากัน อย่างเช่นกรณี

Corsair VS 512MB x 2 (Kit) ราคา 460 บาท แต่ถ้า 1 GB แถวละ 730 บาท (เดือนมกราคม)

แต่แบนด์วิดธ์ที่ได้จะต่างกัน การใช้แถวคู่ก็แน่นอนว่าจะต้องเสียสล็อตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง

การอัพเกรดก็น้อยลง ดังนั้นแล้วก็ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ

องค์ประกอบอื่นๆ


ในส่วนขององค์ประกอบพิเศษก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งหลายค่ายนิยมติด Heat

Spreader ที่ช่วยในการระบายความร้อนมาให้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ไม่น้อยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตามการติดฮีตชิงก์ให้กับแรมนี้ควรจะต้องมั่นใจว่ามีการระบายความร้อนที่ดีด้วยเช่นกัน

เช่นการปรับทิศทางลมให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะสะสมความร้อน

จนเกิดอันตรายต่อแรมได้เช่นกัน แต่ปัจจุบันก็มีพัดลมสำหรับสล็อตแรมมาจำหน่ายเช่นกัน

การรับประกัน


ดูเหมือนว่าจะเป็นแรมอุปกรณ์ไม่กี่ชนิด ที่ใช้การรับประกันแบบ Life Time Warranty

มาเป็นจุดขาย แต่ก็คงต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบการรับประกันดังกล่าวนี้ด้วย

การรับประกันตลอดชีพ

จะหมายถึงการรับประกันไปจนถึงช่วงที่สิ้นสุดการผลิตของแรมรุ่นดังกล่าวเท่านั้น

แต่ถ้าเกิดมีปัญหาหลังจากนั้น ทางผู้จัดจำหน่าย อาจให้เลือกเปลี่ยนเป็นรุ่นอื่น

อาจเป็นรุ่นที่ดีกว่าหรือถูกกว่า รวมถึงในบางครั้งอาจต้องจ่ายส่วนต่างด้วย

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและการตกลงกันของผู้ซื้อและผู้จำหน่าย

ส่วนเงื่อนไขการรับประกันให้ตกลงกับผู้จำหน่ายให้เป็นที่เข้าใจ

แต่ส่วนใหญ่การรับประกันจะไม่รวมไปถึง การแตกหักเสียหาย เม็ดแรมหลุดหรือบิ่น

จะมีเพียงบางค่ายที่ยอมรับได้ในเรื่องการไหม้

รวมถึงการเก็บใบเสร็จหรือใบรับประกันไว้ให้เรียบร้อย สำหรับการยืนยันกับร้านค้า

หากเกิดปัญหาในขั้น

ที่มา http://www.google.com/





การเลือกซื้อพาเวอร์ซัพพลาย



การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย

ในอดีตเพาเวอร์ซัพพลาย มักเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มองข้ามอยู่เสมอ

เนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการใช้พลังงานไฟมากมายเช่นในปัจจุบัน

อีกทั้งเพาเวอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งมากับตัวเคส โดยเฉพาะกับคอมพ์สำเร็จรูป

ก็สามารถรองรับได้เพียงพอ แต่ในวันนี้เฉพาะเมนบอร์ดและการ์ดจอด รุ่นกลางๆ

ก็สามารถทำให้เพาเวอร์เดิมๆ สะดุดหรือเกิดอาการผิดปกติได้ง่ายๆ

แม้ว่าเพาเวอร์ที่ใช้นั้นจะระบุกำลังไฟที่ 450Walt ก็ตาม

ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่กับการเลือกใช้เพาเวอร์ซัพพลายให้เหมาะสมและถูกวิธี

เพื่อที่จะช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ราบรื่น รวมถึงมีเสถียรภาพอีกด้วย

หลักพิจารณาในการเลือกซื้อหรือว่าได้เวลาเปลี่ยน PSU หรือยังนั้น มีหลายปัจจัยด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็น อาการเกิดบลูสกรีน (Blue-scree) การดับหรือรีสตาร์ตโดยไม่ทราบสาเหตุ

รวมถึงการไม่สามารถเข้าระบบได้เลย

ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจ่ายไฟไม่พอหรือเริ่มมีการลัดวงจรนั่นเอง

ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่บอกถึงอันตรายอันอาจเกิดกับอุปกรณ์อื่นๆ

ในคอมพ์ด้วยดังนั้นอย่าได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา ดังนั้
เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน PSU

จะมีการเลือกอย่างไร

เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ผู้ผลิตที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่

ก็จะใช้วัสดุคุณภาพดีและมีความประณีต

ส่งผลต่อความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งานที่นานขึ้น

ผู้ใช้อาจเลือกตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์หรือร้านค้าที่จำหน่าย

นอกจากนี้อาจเข้าไปสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ใช้เว็บไซต์ทดสอบ

เว็บบอร์ดต่างๆอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ




เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง PSU รุ่นใหม่ๆ

ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด

รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 350-500

วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์

ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire

ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว

มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน

หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ PSU ขนาดไหน

สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง

เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ โดยมีเว็บไซต์หลายที่ให้บริการคำนวณ เช่น


http://www.extreme.outervision.com/psucalculatorlite.jsp

การใช้งานเพียงกรอกรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ลงไปก็จะคำนวณการใช้งานออกมาให้ทันทีคอนเน็กเตอร์สำหรับต่ออุปกรณ์ภายใน

ในเรื่องของคอนเน็กเตอร์ก็สำคัญเช่นกัน ควรเลือก PSU

ที่มีหัวจ่ายไฟให้เพียงพอกับการใช้งานของคุณ ไม่ว่าจะเป็นคอนเน็กเตอร์ 20-pins หรือ

24-pinsสำหรับเพาเวอร์ หรืออย่างน้อยควรมีหัวแปลงมาให้ Molex 4-pins(12V)

ที่ใช้เพิ่มในกรณีของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆรวมถึงถ้ามี 6-pins

สำหรับกราฟิกการ์ดที่ต้องใช้พลังงานเพิ่มก็ตาม

นอกจากนี้ยังมีสายเพาเวอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์ในแบบ SATA มาด้วยเช่นกัน ดูง่ายๆก็คือ

ควรจะต้องมีในส่วนที่เป็น Form Factor มาครบถ้วน

และเพียงพอสำหรับความต้องการนั่นเอง
ข้อมูลจาก : หนังสือช่างคอมพ์เลือกซื้ออุปกรณ์ COMPUTER.TODAY

การแก้ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์|

การแก้ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์

การแก้ไขปัญหาในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

จำเป็นที่เราต้องศึกษาการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์แต่ละส่วนไป

ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

โดยทำการศึกษาถึงการทำงานของส่วนประกอบแต่ละส่วนว่ามีการทำงานเป็นอย่างไร

เพื่อที่จะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาได้อีกทาง


เมนบอร์ด : MAIN BOARD


เมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์

ลักษณะภายนอกจะเหมือนกับวงแผงวงจรไฟฟ้าทั่วไป

โดยมีชิพไอซีและขั้วต่อต่างๆมากมายอยู่บนตัวมันเพื่อใช้ในการควบคุมของอุปกรณ์ต่อพ่วง

ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู, หน่วยความจำ, การ์ดขยายต่างๆ, ฮาร์ดดิสก์, ฟลอปปี้ดิสก์, ซีดีรอมไดรว์ ฯลฯ

อุปกรณ์เหล่านี้แม้จะมีความสำคัญเพียงใด ก็ไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่ติดตั้งลงบนเมนบอร์ด


ส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ด


1. ชุดชิพเซ็ต ชิพเซ็ตเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานของชิพเซ็ตนั้นเปรียบ


เสมือนล่ามแปรภาษาต่างๆ

ให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นที่อยู่บนเมนบอร์ดเข้าใจและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

และมีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยชุดชิพเซ็ตนี้จะประกอบด้วยไอซีสองตัว(หรือมากกว่าในชิพเซ็ตรุ่นใหม่ๆ)

นั่นคือชิพเซ็ตที่เรียกกันง่ายๆ ว่า North Bridge หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า System

Controller หรือ AGP Set และตัวที่สองคือ South Bridge เรียกเป็นทางการว่า PCI to ISA Bridge


System Controller หรือ North Bridge


ชิพเซ็ตตัวนี้จะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงกว่าอุปกรณ์อื่นๆ

บนเมนบอร์ด อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ซีพียู, หน่วยความจำแคชระดับสอง หรือ L2 cache

หน่วยความจำหลักหรือ RAM, ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP(Accelerated Graphic Port) ระบบบัส PCI


PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge


ชิพเซ็ตตัวนี้จะรับภาระที่เบากว่าตัวแรก คือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างระบบบัสแบบ PCI

กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วต่ำกว่าตัวมัน เช่นระบบบัสแบบ ISA, ระบบบัสอนุกรมแบบ USB,

ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE, ชิพหน่วยความจำรอมไบออส,ฟลอปปี้ดิสก์, คีย์บอร์ด, PS/2 เมาส์,

พอร์ทอนุกรมและพอร์ทขนาน


ชุดชิพเซ็ตนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายบริษัทเช่นเดียวกับซีพียู ทำให้เกิดการสับสนในการเลือกใช้งาน

โดยการพิจารณาว่าจะใช้ชิพเซ็ตรุ่นใด

ยี่ห้อใดต้องพิจารณาจากซีพียูที่เราเลือกใช้เพื่อเป็นหลักในการเลือกชิพเซ็ตนั้นๆ

ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดอีกครั้ง


2. ROM BIOS& Battery Backup

ROM BIOS : Basic Input Output System หรือบางครั้งอาจเรียกว่า CMOS

เป็นชิพหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็ก

ที่จำเป็นต่อการบู้ตระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในอดีตส่วนของ ROM BIOS

จะแยกเป็นสองส่วนคือ ไบออสและซีมอส หน้าที่ของไบออสคือ

เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบู้ตระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนซีมอสทำหน้าที่เก็บโปรแกรมขนาดเล็กที่จะใช้ในการบู้ตระบบซึ่งผู้ใช้สาสมารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในซีมอสนี้ได้


ในปัจจุบันมีการนำเอาทั้งสองส่วนมารวมไว้ด้วยกัน และเรียกชื่อใหม่ว่า ROM BIOS

ดังนั้นบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะไม่มีซีมอสอยู่

เมื่อมีการรวมกันผลคือมีข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายในชิพรอมไบออสนั้นต้องการพลังงานไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงเพื่อรักษาข้อมูลไว้

ทำให้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่แบคอัพบนเมนบอร์ด

ซึ่งแบตเตอรี่แบคอัพนี้ย่อมมีวันที่จะหมดอายุเช่นกัน


ยี่ห้อของรอมไบออสที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่สามยี่ห้อด้วยกันนั่นคือ Award, AMI, Phoenix

ซึ่งไบออสของ Award จะได้รับความนิยมมากที่สุดในเครื่องประเภทขายปลีก(Retail

คือตลาดของผู้ใช้ทั่วไป) ส่วน AMI จะรองลงมา ในส่วนของ Phoenix

นั้นมักจะใช้ในเครื่องแบรนด์เนมเป็นส่วนใหญ่ ประสิทธิภาพของไบออสนั้นจะใกล้เคียงกัน

ต่างกันเฉพาะรายละเอียดในการปรับแต่งเท่านั้น


3.หน่วยความจำแคช ระดับสอง : Level 2 Cache


L2 cache ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำรองหรือ บัฟเฟอร์ ให้กับซีพียู

โดยพื้นฐานความคิดมาจากปัญหาอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงในคอมพิวเตอร์มักเสีย้วลาส่วนหนึ่งไปกับการรออุปกรณ์ที่ทำงานช้ากว่าทำงานให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงนั้นจึงจะสามารถทำงานได้ต่อไป

จากอดีต

เมื่อซีพียูต้องการข้อมูลสักชุดต้องไปค้นหาและเรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ซึ่งทำงานช้ากว่าซีพียูอยู่มาก

หรือถ้าต้องการคำสั่งที่จะนำไปประมวลผล ซีพียูก็ต้องเข้าไปเรียกหาจาก RAM ซึ่งมีความเร็วต่ำกว่าซีพียูอยู่ดี


ความมุ่งหมายในการนำหน่วยความจำแคชระดับสองมาใช้ในช่วงก่อนก็เพื่อลดช่องว่างระหว่างความเร็วของซีพียู และหน่วยความจำหลัก RAM นั่นเอง

โดยหน่วยความจำแคชระดับสองบนเมนบอร์ดจะทำหน้าที่ดึงชุดข้อมูลในลำดับถัดไปหรือชุดคำสั่งในลำดับต่อๆ ไปหลายๆ

ชุดจากฮาร์ดดิสก์หรือหน่วยความจำหลักที่ทำงานช้ากว่ามาเก็บไว้ที่ตัวเองในระหว่างที่ซีพียูกำลังทำการประมวลผลอยู่

เมื่อซีพพียูต้องการข้อมูลหรือชุดคำสั่งชุดต่อไปก็จะทำการเรียกใช้จากแคชระดับสองซึ่งทำงานเร็วกว่า RAM หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ทำงานช้ากว่า


ตามหลักการแล้ว ขนาดของแคชระดับสอง ถ้ามีมากยิ่งจะทำให้ซีพียูทำงานเร็วขึ้น

แต่เนื่องจากหน่วยความจำแคชระดับสองซึ่งเป็น SRAM : Static RAM มีราคาแพง

และโอกาสที่ซีพียูจะเรียกชุดคำสั่งในตำแหน่งเดิม

หรือตำแหน่งที่อยู่ติดกันนั้นไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา ทำให้แคชระดับสองมีขนาดไม่ใหญ่นัก

โดยมาตรฐานจะอยู่ที่ 512 KB และอยู่บนเมนบอร์ด(ปัจจุบันย้ายไปอยู่ในตัวซีพียู ในขนาดเท่าๆ

เดิม แต่มีความเร็วที่มากกว่าคือความเร็วเท่ากับซีพียู)


4.ซ็อคเก็ต หรือสล็อตสำหรับติดตั้งซีพียู


ซ็อกเก็ต หรือสล็อต ที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้น เป็นอุปกร์ที่ช่วยให้การติดตั้งซีพียูลงบน


เมนบอร์ด ซึ่งเริ่มใช้ในซีพียูรุ่น 80386 ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีคานช่วยสำหรับการถอดประกอบ

โดยเริ่มมีคานช่วยในการถอดประกอบในซ็อกเก็ตแบบ Socket 3 ใช้กับซีพียู 80486

โดยซ็อกเก็ตแต่ละตัวจะใช้กับซีพียูในแต่ละรุ่นไป

ดังนี้(จะกล่าวเฉพาะที่มีใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันที่มีอยู่เท่านั้น)

· Socket 3 ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 237 ขา 80486 SX, 80486DX2, 80486DX4
· Socket 5 ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 320 ขา Pentium 75-133, K5, Cyrix6x86MI
· Socket 7 ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 321 ขา Pentium MMX,K6-2, K6-3, Cyrix MII
· Socket 370 ใช้กับซีพียู ที่มีจำนวนขา 370 ขา Celeron, Celeron II, Pentium III Cumine
· Socket 423 ใช้กับซีพียู Pentium 4
· Socket A ใช้กับซีพียู 462 ขา Duron, Atlon Thunder Bird บางรุ่น
· Slot I ใช้กับซีพียู 242 ขา Pentium II, Pentium III, Celeron บางรุ่น
· Slot A ใช้กับซีพียู 242 ขา Athlon, Athlon ThunderBird

5.ซ็อกเก็ตสำหรับ หน่วยความจำหลัก RAM


ในช่วงแรกๆ นั้น ซ็อกเก็ตที่ใช้สำหรับการติดตั้ง RAM จะเป็นแบบ SIMM : Single Inline


Memory Module ที่รองรับ RAM ที่มีขาสัญญาณ 30 ขา

สามารถเพิ่มหน่วยความจำได้สูงสุดไม่เกิน 2 Bank หรือ 8 สล็อต (เป็นหน่วยความจำแบบ 8 บิต)

มีความจุแผงละ 1 – 4 MB เท่านั้น


ถัดมามีการพัฒนาเป็นแบบซ็อกเก็ตติดตั้ง RAM แบบ SIMM 72 ขา เป็น RAM แบบ 32 บิต

มีขนาดความจุตั้งแต่ 4 – 32 MB ซึ่งเมื่อนำไปใช้กับซีพียูที่เป็นแบบ 64 บิต เช่น Pentuim

จึงต้องใช้สองแผงจึงจะรองรับการทำงานร่วมกับซีพียูได้ดี


ต่อมาในชิพเซ็ตรุ่น 430 VX ซึ่งสามารถรองรับหน่วยความจำรุ่นใหม่คือแบบ DIMM : Dual

Inline Memory Module 168 ขา 64 บิต ซึ่งมีทั้ง EDO RAM และ SDRAM

ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า SIMM RAM มาก และเป็น RAM

มาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน


(ขณะนี้ RAM ที่ออกมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีที่มาแรงคือ DDR SDRAM


ใช้งานกับซีพียู Pentuim 4, Duron, Athlon ThunderBird)


6.สล็อตสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มขยายต่างๆ


จากยุคเริ่มแรกที่เป็นสล็อตแบบ ISA ซึ่งเป็นแบบ 8 บิต ทำงานที่ความเร็ว 8 MHz ต่อมา


พัฒนาขึ้นเป็นแบบ 16 บิต เพื่อเพิ่มความเร็วให้สามารถรองรับอุปกรณ์ใหม่ๆ

ที่มีความเร็วในการทำงานสูงได้ ต่อมาได้พัฒนาระบบบัสแบบ Vesa ISA 32 บิต ความเร็ว 33

MHz ขึ้นมาแต่ยังคงความยาวเอาไว้เพื่อใช้กับการ์ด ISA แบบเดิม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของบัสแบบ

Vesa ISA ต่อมาทาง Intel ได้ทำการออกแบบสล็อตแบบใหม่ที่เรียกว่า PCI

เข้ามาแทนที่สล็อตแบบ Vesa ISA ด้วยคุณสมบัติที่เท่ากัน แต่ข้อได้เปรียบคือมีขนาดที่สั้นกว่า

และยังสะดวกในการติดตั้งและอัพเกรดในตอนหลังอีกด้วย แต่ความเร็วของ PCI

ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานร่วมกับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ที่เป็นแบบสามมิติ

และมีชิพเร่งความเร็วสามมิติอยู่ในตัวได้

จึงต้องมีการพัฒนาระบบบัสขึ้นมาสเพื่อใช้งานร่วมกับการ์ดแสดงผลแบบใหม่นี้ซึ่งเรียกว่า AGP :

Accerelated Graphic Port แบบ 32 บิต ความเร็วสูงถึง 100 MHz (AGP Port จะมีเพียง 1 Slot เท่านั้นบนเมนบอร์ด)


7. วงจรควบคุมการจ่ายไฟให้กับซีพียู หรือ Voltage Regulator


บนเมนบอร์ดจะมีวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูอยู่อีชุดหนึ่ง โดยแยกจาก Power Supply

ในเมนบอร์ดรุ่นเก่าจะเป็นแบบ Linear

ซึ่งมีข้อด้อยคือไม่สามารถรองรับกับซีพียูที่มีความเร็วสูงได้


จึงได้เปลี่ยนมาเป็นแบบ Switching แทนเพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกมามีความบริสุทธิ์พอ

การสังเกตว่าบนเมนบอร์ดนั้นมีวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูเป็นแบบใด ถ้าเป็นแบบ Switching ใกล้ๆ

ซ้อกเก็ต

หรือสล็อตที่ใช้ติดตั้งซีพียูนั้นจะมีขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนทรงวงแหวนอย่างน้อย


สองวง แต่ถ้าวงจรควบคุมการจ่ายไฟเป็นแบบ Linear จะไม่มีวงแหวนนี้ แต่จะเป็น IC Regulator แบบ 3 ขาแทน


8. วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา


วงจรสัญญาณนาฬิกาสร้างจากวงจรที่เรียกว่า Oscillator

หรือวงจรกำเนิดความถี่สัญญาณนาฬิกา

ซึ่งการตั้งค่าความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของระบบบัสที่ใช้กับซีพียูแต่ละรุ่นนั้น

คือการแจ้งหรือกำหนดให้วงจรกำเนิดความถี่สัญญาณนาฬิกกานี้ผลิตความถี่ที่ซีพียูแต่ละรุ่นต้องการนั่นเอง ซึ่งเมื่อได้รับความถี่ที่ต้องการแล้ว

ภายในตัวซีพียูเองจะมีส่วนที่เรียกว่าวงจรอัตราการคูณสัญญาณนาฬิกาภายในทำหน้าที่เพิ่มความถี่ของสัญญาณนาฬิการะบบที่ได้รับมาอีกครั้งหนึ่ง

ช่นซีพียู Pentuim II 450 MHz ระบบบัสเท่ากับ 100 MHz ตัวคูณที่ใช้จะเป็น 4.5(100X4.5=450)


9. ชิพควบคุมพอร์ตชนิดต่างๆ หรือ Multi I/O (Multi Input Output)


เป็นชิพที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วต่ำเช่น

พอร์ตอนุกรม(Serial),พอร์ตขนาน(parallel),พอร์ต PS/2

ของคีย์บอร์ดและเมาส์,พอร์ตอินฟราเรดและฟลอปปี้ดิสก์คอนโทรลเลอร์

เทคโนโลยีในส่วนนี้แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานแล้ว เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ

ที่ชิพตัวนี้ควบคุมอยู่มีการทำงานที่ความเร็วต่ำพอที่ชิพในปัจจุบันสามารถที่จะควบคุมได้โดยไม่ต้องมีการพัฒนา


การเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้อาจมีบ้างในส่วนของพอร์ตอนุกรม ซึ่งในยุคแรกจะใช้ชิพ UART 8255

หรือ 16540 ที่รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 14.4 kbps เท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอ

ถ้าหากมีการใช้อุปกรณ์เช่นโมเด็มที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านพอร์ตอนุกรมนี้และทำงานด้วยความเร็วสูงกว่า

14.4 kbps ทำให้มีการพัฒนาชิพตัวนี้ไปเป็นรุ่น16550

เพื่อให้สามารถรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตอนุกรมได้เกินกว่า 14.4 kbps


10. จัมเปอร์และดิพสวิทช์


ใช้สำหรับการตั้งค่าต่างๆ บนเมนบอร์ดโดยมีรูปร่างลักษณะต่างกัน

แต่ถูกนำมาใช้งานในจุดประสงค์เดียวกัน

คือใช้สำหรับการตั้งค่าให้กับอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดให้ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น

· ใช้ตั้งค่าอัตราตัวคูณให้กับซีพียู
· ใช้ตั้งค่าแรงดันไฟเลี้ยงที่จะป้อนให้กับซีพียู
· ใช้ตั้งค่าสัญญาณนาฬิกาของระบบ
· ใช้สำหรับการลบค่าที่บันทึกไว้ใน CMOS

แต่เดิมนั้นจะมีเฉพาะจัมเปอร์ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักต่อที่เวลาจะเลือกใช้จะต้องมีแคพเป็นตัว

เชื่อมต่อ

ซึ่งการเสียแคพเข้ากับจัมเปอร์ต้องให้ตรงกับหลักนั้นทำได้ยากพอสมควรเนื่องจากจัมเปอร์มีขนาดเล็กมาก ต่อมาจึงมีการนำเอาดิพสวิทช์มาใช้แทนซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่า

และมีสีสันที่สังเกตได้ง่ายกว่าด้วย


11. คอนเน็คเตอร์และพอร์ตชนิดต่างๆ


คอนเน็คเตอร์และพอร์ตที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้นจะมีอยู่หลายชนิด เช่น


· Primary IDE Connector เป็นคอนเน็คเตอร์ขนาด 40 ขา ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตร-

ฐานการเชื่อมต่อแบบ EIDE สามารถใช้งานพร้อมกันได้ 2 ตัว

· Secondary IDE Connector เป็นคอนเน็คเตอร์ขนาด 40 ขา ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตร-

ฐานการเชื่อมต่อแบบ EIDE สามารถใช้งานพร้อมกันได้ 2 ตัว

· Floppy Disk Connector คอนเน็คเตอร์ขนาด 34 ขา ใช้ต่อกับฟลอปปี้ดิสก์ไดรว์


· AT/ATX Power Connector ขั้วสำหรับรองรับขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย แบบ AT

จะเป็นแบบ12 ขั้วเรียงกัน พบในเมนบอร์ดรุ่นเก่า ส่วนแบบ
ATX จะมี 20 ขา (เป็นแบบสองแถวคู่)

· Serial Port Connector มีรูปทรงคล้ายกับตัว D ในภาษาอังกฤษ บางครั้งเรียกว่า DB-9

มี 9 ขา อยู่ภายนอกเครื่อง มีสองพอร์ทใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์
ภายนอก เช่น เมาส์ หรือโมเด็ม

· Parallel Port Connector มีรูทรงเหมือนกับ Serial Port แต่มี 25 ขา เรียกว่า DB-25 ใช้

สำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับ Printer (หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พอร์ท
พรินเตอร์)

· PS/2 Port เป็นพอร์ทมาตรฐาน DIN 6 ขนาดใหญ่มี 5 ขาสัญญาณใช้กับ AT

Style เชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดเท่านั้น อีกตัวหนึ่งเป็น DIN 6 เล็ก ใช้
กับคีย์บอร์ดและเมาส์แบบ PS/2 หัวต่อเล็ก

· USB Connector มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนๆ มีสองพอร์ท ใช้สำหรับ

การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆที่ใช้งานผ่านทางพอร์ทนี้ ส่วนใหญ่ในบอร์ดแบบ ATX จะติดตั้งบนเมนบอร์ดเลย แต่ถ้าเป็นแบบ AT จะมีเฉพาะขั้วต่อบนบอร์ดต้องหาการ์ด USB(Universal Serial BUS) มาต่อเพิ่มเอง
พอร์ทอื่นๆ บนเมนบอร์ด

· IrDA Infrare Module Connector เป็นหลักต่อแบบ 5 Pin บนบอร์ด ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับ

อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยลำแสงอินฟราเรด ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์
ประเภทไร้สาย เช่น เมาส์ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

· Wake-Up on LAN Connector ใช้คู่กับการ์ด LAN ที่สนับสนุนคุณสมบัตินี้ และต้องเปิดใช้คุณ

สมบัติในไบออสในหัวข้อ Wake-Up on LAN ด้วย ใช้สำหรับ
การควบคุมปิด-เปิดเครื่องผ่านระบบ LAN

· Modem Wake UP Connector ใช้ร่วมกับการ์ดโมเด็มแบบติดตั้งภายใน จุดประสงค์เพื่อเปิด

เครื่องผ่านโมเด็ม ต้องมีการตั้งค่าในไบออสหัวข้อ Resume by
Ring ให้เป็น Enable



ที่มาฃองฃ้อมูล : www.google.com และพิมพ์คำว่า การรักษาดูแลคอมพิวเตอร์

การเลือกซื้อซีพียู






Pentium Dual Core เป็นซีพียู Dual Core รุ่นประหยัด

โดยตัวมันมี L2 Cache เพียง 1 MB ซิป Pentium Dual Core

พบได้ในโน้ตบุ๊คหน้าจอขนาด 13.3 – 15 นิ้วรุ่นราคาประหยัด

ซึ่งคาดว่า Intel เข็นออกมาเพื่ออุดช่องว่างระหว่างชิพ Single Core และ Dual Core

ส่วนประสิทธิภาพของชิพตัวนี้แน่นอนว่าเป็นรองชิพ Core Duo

แต่ก็มีความเร็วเพียงพอสำหรับการใช้งานกับโปรแกรมทั่วไป

จนถึงงานกราฟิกและตัดต่อวิดีโอเบาๆ ชิป Pentium Dual Core



ที่มาของข้อมูล : "ชื่อร้าน สมศักดิ์ อินเตอร์ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า"







ปัจจุบันซีพียูที่ใช้งานสามารถอ่านคำสั่งหรือข้อมูลได้ถึงครั้งละ 64 บิต

ทำให้ทำงานได้มากและรวดเร็วขึ้น กลไกการทำงาน ของซีพียูมีจังหวะการทำงานที่แน่นอน
เช่น

อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำนำมาตีความหมายคำสั่งในซีพียูดำเนินการตามที่คำสั่ง


นั้นบอกให้กระทำ การกระทำเหล่านี้เป็นจังหวะที่แน่นอน

การกำหนดความเร็วของจังหวะ
ใช้สัญญานาฬิกาที่มีความเร็วสูงมาก ซีพียูรุ่นใหม่ ๆ

สามารถใช้สัญญาณนาฬิกาได้สูงกว่า 100 เมกะเฮริตซ์


ที่มาของข้อมูล : "ชื่อร้าน ปุ้ย กะ ปิ๊ก พันธุ์ทิพย์พลาซ่า"





ซีพียู (CPU)ซีพียู (CPU : Central Processing Unit)

เปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์

ภายในซีพียูจะประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ซิลิกอน"

โดยนำมาเจือกับวัสดุบางชนิดเพื่อให้เกิดภาวะของการนำไฟฟ้าได้ซิลิกอนที่ผ่านการเจือปน

เหล่านี้จะถูกนำมาเรียงประกอบกันเป็นทรานซิสเตอร์

ซีพียูตัวหนึ่งจะมีจำนวนหลายสิบล้านตัว


ที่มาของข้อมูล "อ้างอิง หนังสือช่างคอมมืออาชีพ"



ซีพียูรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกในพัฒนาการของซีพียูรุ่นที่ 6 ของ AMD และได้ใส่ความสามารถ MMX

เข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเทียบชั้นกับ Pentium รุ่นที่เป็น MMX แล้วจะเหนือกว่าเล็กน้อย

โดยภาพนอกยังคงใช้บัส 66 MHzและแคชขนาด 256 KB ถึง 1 MB

แต่ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 166,200,233 และ 266 MHz ส่วนเมนบอร์ด

ซ็อคเก็ต และชิปเซ็ตที่ใช้จะเหมือนกันกับ Pentium ทุกประการ

ที่มาของข้อมูล "อ้างอิง หนังสือผึกอาชีพคอมพิวเตอร์"